Digital transformation คืออะไร?

Business analysis

ย้อนกลับไปในอดีต เมื่อการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีเป็นเหมือนของราคาแพง ทำให้มีต้นทุนการที่สูง และดูจะได้ประโยชน์น้อยเมื่อเทียบกับการลงทุนในเรื่องอื่นที่ดูคุ้มค่ากว่า ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางด้าน อุปกรณ์, ซอฟต์แวร์ทำงาน, ทีมงานดูแลระบบ ตลอดจนโครงสรางพื้นฐานต่างๆ ภายในองค์กร ที่ต้องถูกยกเครื่องใหม่

แต่ในปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่ได้เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย การเข้าถึงข้อมูลทำได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้ต้นทุนการเข้าถึงเทคโนโลยีมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับภาวะขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการถูก Disrupt จากธุรกิจประเภทอื่นที่เข้ามาแข่งขัน

ทำให้การนำเทคโนโลยีช่วยปรับปรุงการทำงาน จึงเป็นเรื่องควรทำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับผลที่ได้รับกลับมา

หากเราสังเกตุให้ดี จะเห็นว่าในบรรดาองค์กรชั้นนำต่างๆ มักมีการปรับปรุงวิธีการทำงานของตัวเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยที่การปรับปรุงนั้นอาจทำเพื่อจุดประสงค์บางประการหรือทั้งหมด เช่น

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  2. ลดข้อผิดพลาด
  3. เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน

ลองสำรวจตัวคุณเองว่า พร้อมหรือยัง? สำหรับการทำ Digital transformation

แต่ถ้าหากคุณยังไม่เตรียมพร้อมรับมือ และปรับตัวให้ทัน ก็อาจจะหลุดจากสนามการแข่งขันนี้ไปเพราะอีกไม่ช้า Digital transformation จะกลายมาเป็นสิ่งสำคัญ อย่างที่เราเห็นในหลาย ๆ ธุรกิจเริ่มใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกันมากขึ้น ในการขับเคลื่อนธุรกิจและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานทางธุรกิจให้เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็น

เทคโนโลยีได้สร้างรูปแบบใหม่ของธุรกิจในการส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการทำธุรกิจ และเปลี่ยนแปลงตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่ในรอบของการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงในจังหวะที่เร็วขึ้นกว่าเดิม ผู้บริหารบางท่านได้กล่าวไว้ว่าความเสี่ยงที่จะถูก Disrupt เป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้องค์กรต้องมาทำ Digital Transformation ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในยุคเดิม แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนได้เช่นกัน

เรื่องเล่า กรณีศึกษา

AIRBUS

ได้นำเทคโนโลยีด้าน 3D Printing มาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน ส่งผลให้

  • ลดน้ำหนักเครื่องบินได้ 30-55%
  • ลดค่าวัตถุดิบ เช่น เหล็ก และไทเทเนียม ได้ถึง 90%
  • ลดการใช้พลังงานในการผลิตได้ 90% เมื่อเทียบกับรูปแบบการผลิตแบบเดิม
  • เครื่องบินประหยัดพลังงานระหว่างบิน 6.4%